TIPCO จัดการปัญหาด้านพิวเตอร์ ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการแบบอัตโนมัติ StarCat

TIPCO จัดการปัญหาด้านพิวเตอร์ ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการแบบอัตโนมัติ StarCat

บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำผลไม้ภายใต้ตรายี่ห้อ TIPCO โดยนอกจากนั้นแล้วยังมีผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง (ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของบริษัท) พร้อมทั้งน้ำแร่ธรรมชาติตรา AURA นอกจากนั้นแล้วยังมีธุรกิจร้านค้าปลีกที่ชื่อว่า SQUEEZE ในการให้บริการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มผลไม้ปั่นสมูทตี้ โดยปัจจุบันทิปโก้ฟูดส์มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโรงงานผลิตทั้งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, อยุธยา รวมถึงเชียงใหม่อีกด้วย และมีพนักงานทั้งสิ้นมากกว่า 2,000 คน

วางรากฐานไอทีเพื่อการพัฒนาธุรกิจ
ฝ่ายเทคโนโลยีของ กลุ่มบริษัททิปโก้ฟูดส์ นำโดย คุณสมาน สุดแสง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มบริษัท โดยในฝ่ายไอทีนี้จะมีหน้าที่สำคัญคือการสนับสนุนและการวิเคราะห์ถึงแผนการณ์การดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองแผนดังกล่าวนั้นให้ลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นต่างๆ อยู่สามประการ โดยประการแรกคือ “การนำ” กล่าวคือเป็นการนำเอาเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่เหมาะสมมาเพื่อช่วยสนับสนุนให้บริษัทสามารถเติบโตตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยหาเครื่องไม้เครื่องมือมาเพื่อสนับสนุนการทำดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น “การสร้างความต่อเนื่อง” เป็นการที่ใช้เทคโนโลยีมาเพื่อให้เกิดความเสถียรภาพและมีดาวน์ไทม์น้อยที่สุด เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก (Business Continuity) โดยประกอบด้วยวิธีการในเรื่องของการจัดการโครงสร้างอินฟราสตรัคเจอร์และการพัฒนาระบบ ซึ่งเมื่อปีก่อนทางทิปโก้ฟูดส์ลงทุนปรับปรุงด้านโครงสร้างไป มากกว่า 20 ล้านบาท (ทั้งเซิร์ฟเวอร์, เน็ตเวิร์ก, และอินเทอร์เน็ต ฯลฯ) และประการที่สาม “การสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือ” กับแผนกอื่นๆ ภายในองค์กร

โดยคุณสมานให้ความเห็นว่า การสร้างความสัมพันธ์กับยูสเซอร์ในแผนกต่างๆ นั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาด้านระบบ เพราะทางฝ่ายไอทีจะได้ทราบถึงข้อมูลทั้งความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับยูสเซอร์เพื่อนำมาวิเคราะห์แก้ไขหรือพัฒนาเพิ่มเติมได้ในอนาคต ส่วนงานดูแลด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วยจำนวนพนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายทั้งในสำนักงานใหญ่และสำนักงานที่อยู่ในต่างจังหวัด ประกอบกับการที่มีบุคลากรด้านไอทีที่มีอยู่อย่างจำกัด (เจ้าหน้าที่ไอทีของทิปโก้ฟู้ดส์ มีประมาณ 12 ท่าน ดูแลระบบไอทีของบริษัททั้งหมด) ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องหาโซลูชันที่เป็นลักษณะแบบอัตโนมัติเพื่อที่จะช่วยลดปัญหาด้านการจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายดังกล่าวได้ โดยคุณสมานกล่าวว่าปัญหาส่วนใหญ่ไม่ได้หนักหนามากมายแต่มักจะจุกจิก เช่น การแก้ไวรัส, การต่อเครื่องพิมพ์ไม่ได้, อีเมล์รับส่งไม่ได้, การติดตั้งโปรแกรมผิดกฏหมาย และอื่นๆ เป็นต้น

จัดการปัญหาด้วยโซลูชันอัตโนมัติ
วิธีการในการจัดการปัญหาด้านคอมพิวเตอร์นี้ เริ่มต้นจากการที่ยูสเซอร์อธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องของพวกเขาผ่านทางสายโทรศัพท์และผ่านระบบ Help desk แต่เนื่องจากความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านระบบไอทีไม่เท่ากัน ทำให้ยูสเซอร์ไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ไอที ทำให้เจ้าหน้าที่ไอทีต้องเสียเวลาในการเข้าไปแก้ปัญหาที่หน้าเครื่องของยูสเซอร์แทน ซึ่งบ่อยครั้งที่พนักงานไอทีต้องเสียเวลาไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่ละหลายๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน (ที่โต๊ะทำงานของยูสเซอร์ที่เกิดปัญหา) ยิ่งเกิดขึ้นหลายๆ คนทำให้แผนกไอทีเสียเวลาในการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถทำงานอื่นๆ ได้เลย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโพรดักส์ทิวิตี้แต่อย่างใด ในที่สุดจำเป็นต้องหาโซลูชันที่เข้ามาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้ตัดสินใจเลือก StarCat มาใช้ในการนี้

คุณสมานเล่าว่า ก่อนหน้านั้นเคยได้ใช้ StarCat ซึ่งเคยติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่งแล้วรู้สึกถูกใจถึงความสามารถจึงได้มีจัดซื้อมาเพื่อการใช้งาน โดยปัจจุบันมีการใช้ไลเซ่นส์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในทิปโก้ฟูดส์เกือบทั้งหมดกว่า 500 ไลเซ่นส์ โดยเน้นการใช้งานฟีเจอร์เพื่อการสนับสนุนการแก้ปัญหาโดยการใช้งานผ่านรีโมทหน้าจอเครื่อง เพื่อตรวจสอบปัญหาจิปาถะที่เกิดขึ้นแก่เครื่องลูกข่ายต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ไอทีเดินไปยังคอมพิวเตอร์ของยูสเซอร์อีกต่อไป

นอกจากนั้นแล้วผู้จัดการฝ่ายไอทียังเสริมอีกด้วยว่า ทางทีมงานยังได้ใช้ฟีเจอร์ในการประเมินไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องลูกข่าย เพื่อจะวิเคราะห์ถึงซอฟต์แวร์ที่ยูสเซอร์ใช้งานว่าเป็นซอฟต์แวร์ผิดกฏหมายหรือไม่ พร้อมทำรายงานสรุปเกี่ยวกับตัวไล่เซนต์ทั้งหมดของเครื่องลูกข่ายนั้นๆ เพื่อให้ผู้บริหารได้เห็นภาพรวมของการใช้งานซอฟต์แวร์ทั้งหมดได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น ฟีเจอร์อีกหนึ่งประการที่เป็นประโยชน์ต่อทิปโก้ฟูดส์มาก ก็คือตัว Help Desk ซึ่งเป็นระบบที่ให้ฝ่ายไอทีสามารถติดตามงานหรือเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านไอทีต่างๆ ที่ยูสเซอร์แจ้งเอาไว้ หลักการทำงานของ Help Desk ก็คือ เมื่อยูสเซอร์เกิดปัญหากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน พวกเขาจะต้องทำการแจ้งปัญหาผ่านทางหน้าเว็บบราวเซอร์ของ Help Desk และทางฝ่ายไอทีก็จะมอนิเตอร์ที่หน้าจอและเข้าไปจัดการกับปัญหาที่ถูกร้องเรียนผ่านมาทางระบบดังกล่าว

สร้างคุณประโยชน์ให้แก่องค์กร
การใช้งานซอฟต์แวร์ StarCat ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายกับทิปโก้ฟู้ดส์ โดยที่เห็นได้ชัดคือการลดช่วงเวลาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องลูกข่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ไอทีไม่จำเป็นต้องเดินไปที่หน้าเครื่องเหมือนเช่นอดีต พวกเขาสามารถใช้วิธีการรีโมทเข้าไปยังหน้าจอของยูสเซอร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งก็ยังมีฟีเจอร์ที่ใช้ในการประเมินซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องลูกข่าย ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมรวมถึงรายงานของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งได้ทั้งหมด ช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในกรณีที่ยูสเซอร์อาจจะนำมาติดตั้งเองเป็นต้น และฟีเจอร์อย่าง Help Desk ที่มาพร้อมกันใน StarCat ก็ช่วยทำให้ทีมงานเจ้าหน้าที่ไอทีสามารถทราบถึงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถแทร็กหรือตรวจสอบบุคคลที่แจ้งปัญหา และที่สำคัญยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยประเมินวัดผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ไอทีในการแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้อีกด้วย และปัจจุบันทางทิปโก้ฟูดส์ ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและการฝึกอบรมจากทาง MOSCII Corporation ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาตัวซอฟต์แวร์ StarCat อย่างต่อเนื่อง

สนใจรายละเอียดติดต่อข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ StarCat ได้ที่ MOSCII CORPORATION, โทรศัพท์ 02-582-8299 หรือที่เว็บไซต์ www.moscii.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข้ามไปยังทูลบาร์